วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิจัยเรื่อง ความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
 
                  

  
สรุปวิจัย


 เด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีความสามารถทางพหุปัญญาแต่ละด้านอยู่ในระดับปานกลาง หลังได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเด็กปฐมวัยมีความสามารถทาง
พหุปัญญาแต่ละด้านอยู่ในระดับสูง
                     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีความสามารถทางพหุปัญญาทุกด้าน
คือความสามารถด้านภาษา ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ความสามารถด้านมิติ
ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ความสามารถด้านดนตรี ความสามารถด้านความ
เข้าใจระหว่างบุคคล ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง และความสามารถด้านธรรมชาติสูงขึ้น
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
 
                                          
                                            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

 คือ นักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) มา 1 ห้องเรียนแล้วสุ่มอย่างง่าย (Simplerandom sampling) จากนักเรียนห้องที่สุ่มได้โดยการจับสลากมาจำนวน 15 คน

     ตัวแปรที่ศึกษา
 
1. ตัวแปรอิสระ คือ กิจกรรมเกมการศึกษา
2. ตัวแปรตาม คือ ความสามารถทางพหุปัญญา ประกอบด้วย
2.1 ความสามารถด้านภาษา
2.2 ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์                                    
2.3 ความสามารถด้านมิติ
2.4 ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
2.5 ความสามารถด้านดนตรี
2.6 ความสามารถด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล
2.7 ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง
2.8 ความสามารถด้านธรรมชาติ

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาล
ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ) สำนักงานเขตหนองจอก
กรุงเทพมหานคร
2. กิจกรรมเกมการศึกษา หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน รวมถึงการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
โดยเกมการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 24 ชุด ซึ่งเป็นเกมที่มีกฎกติกาง่ายๆ ให้เด็กเล่นเกมเป็นกลุ่ม
ประกอบไปด้วยเกมภาพขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเกมที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายและพัฒนาพหุปัญญา
ทุกด้าน และเกมบัตรภาพขนาดเล็กที่เด็กเล่นเป็นกลุ่มเพื่อฝึกทักษะในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ
หน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ลักษณะของเกมการศึกษาประกอบไปด้วย
2.1 เกมการศึกษาภาพขนาดใหญ่ หมายถึง เกมแผ่นภาพขนาดใหญ่ใช้เล่นบนพื้นโดย
ให้เด็กเป็นตัวเดินตามช่องตารางของเกม5
2.2 เกมการศึกษาบัตรภาพขนาดเล็ก หมายถึง เกมบัตรภาพที่จัดทำขึ้นโดยเรียงลำดับ
ความยากง่ายให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยจัดให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มบนโต๊ะ ฝึกทักษะการสังเกต
การคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท คือ เกมจับคู่ เกมจัดหมวดหมู่
เกมเรียงลำดับ เกมภาพตัดต่อและเกมโดมิโน โดยมีขั้นตอนในการทำกิจกรรมเกมการศึกษาดังนี้
ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่การเล่นเกมโดยการร้องเพลงทำท่าทางประกอบเพลงและ
คำคล้องจองหรือดูภาพเกมสนทนาซักถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจ และมีความพร้อมก่อน
การเล่นเกมขั้นดำเนินการ แนะนำชื่อเกม กติกาข้อตกลงการเล่นเกม สาธิตวิธีการเล่นเกมและเปิดโอกาสให้เด็กซักถามจนเข้าใจก่อนการเล่นเกมขั้นสรุป ร่วมกันสนทนาสรุปเนื้อหาสาระที่ได้จากการเล่นเกมและแสดงความรู้สึกต่อการเล่นเกม
3. ความสามารถทางพหุปัญญา หมายถึง ความสามารถทางปัญญาแต่ละด้านตามแนวคิด
ของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ที่เด็กปฐมวัยแสดงออกมา ซึ่งในงานวิจัยนี้ศึกษาความสามารถทางพหุปัญญา
8 ด้าน วัดได้จากแบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น พหุปัญญาทั้ง 8 ประกอบด้วย
3.1 ความสามารถด้านภาษา หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่ง การสื่อสาร
การแสดงความคิดเห็น การพูดเล่าเรื่อง
3.2 ความสามารถด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบ/
จัดหมวดหมู่/แยกประเภท การใช้ตัวเลขและจำนวน แก้ปัญหา การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ
สถานการณ์ต่างๆ
3.3 ความสามารถด้านมิติ หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นและใช้พื้นที่
ตำแหน่งที่ตั้ง และการบอกทิศทางของสิ่งของ การบอกรูปร่างของสิ่งต่างๆ
3.4 ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว หมายถึง ความสามารถในการควบคุม
การเคลื่อนไหวของร่างกาย การใช้ร่างกายแสดงท่าทางต่างๆ การประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อ
มือกับประสาทตา
3.5 ความสามารถด้านดนตรี หมายถึง ความสามารถในการร้องเพลงการเคาะจังหวะ
3.6 ความสามารถด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล หมายถึง ความสามารถในการเป็น
ผู้นำ - ผู้ตาม การรู้จักแบ่งปันการช่วยเหลือผู้อื่น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การให้ร่วมมือ
การทำงานกลุ่ม
3.7 ความสามารถด้านความเข้าใจตนเอง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง
กล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ มีความมั่นใจในการทำงาน
3.8 ความสามารถด้านธรรมชาติ หมายถึง การดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
การรู้จักใช้สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่อยู่รอบตัวอย่างคุ้มค่า


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น